ปี 2565 หลังการระบาดโควิด 19 ผ่านไป ผมได้มีโอกาสไปอบรม Public Health Emergency Management ที่ US CDC แอตแลนต้า และได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ของ CDC และที่ตื่นตาตื่นใจมากก็คือ มีส่วนที่จัดแสดงกรอบรูปของผู้จบ EIS แต่ละรุ่น ซึ่งมีแสดงบางรุ่นเท่านั้น และหนึ่งในนั้นมีรุ่นปี 1982 ที่พี่ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์ หนึ่งเดียวของคนไทยที่ได้ไปเรียนหลักสูตร EIS EIS ย่อมาจาก Epidemic Intelligence Service Service ถ้าแปลตรงตัวคงจะเรียกเป็น “หน่วยข่าวกรองการระบาด” เป็นหลักสูตรแบบ Non-degree แต่มีคนสนใจเรียนกันมากมายในแต่ละปี ทั้ง MD, PhD, สัตวแพทย์, หรือ health professional สาขาอื่น ๆ EIS เป็นต้นแบบหลักสูตร FETP ของประเทศไทย
เมื่อกลับมาเมืองไทยก็มาเป็น ผอ. หลักสูตร FETP ไทยที่เป็นคนไทยคนแรก จากนั้นไปเป็น Adjunct Director หรือ Thai co-director ของศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ เป็นเวลา 11 ปี พี่ครรชิต ไปทำงานองค์การอนามัยโลก South-East Asia Regional Office ที่กรุงเดลี ประเทศอินเดีย และต่อมาไปเป็นผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศอินโดนีเซีย (WHO Representative to Indonesia)
0 Comments
สวัสดีครับ มาพบกันอีกครั้งพร้อมกับเกร็ดความรู้ระบาดวิทยาที่ได้จากคลิปดี ๆ ในยูทู้บ ครับ ใครที่เรียนระบาดวิทยาคงจะรู้จัก นพ.จอห์น สโนว์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งระบาดวิทยาสมัยใหม่ (Father of Modern Epidemiology) [1], บิดาแห่งระบาดวิทยาภาคสนาม (Father of Field Epidemiology) [2] และผมก็ไปเจอคลิปอะนิเมชั่น ของ TED ED ที่ชอบมากคลิปนี้ ความยาวแค่ 4 นาที มาดูประเด็นในบล็อกนี้ แล้วค่อยไปดูคลิปต้นฉบับตอนท้ายเรื่องนะครับ
หมอจอห์น สโนว์ เป็นคนหนึ่งที่ไม่เชื่อใน Miasma theory ได้เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคอหิวาต์ พบว่ามีอาการถ่ายอุจจาระเหลวรุนแรง อาเจียน ซึ่งเป็นอาการทางเดินอาหาร ไม่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ น่าจะมีสาเหตุมาจากอาหารที่กินหรือน้ำที่ดื่ม ข่าวการระบาดในหนังสือพิมพ์รายงานว่า ผู้ป่วยจำนวนมากอยู่ในย่านโซโห (Soho) เขาไปขอข้อมูลจากงานทะเบียน เพื่อดูว่าผู้ป่วยอหิวาต์ที่เสียชีวิตอาศัยอยู่ที่ใด ดูมาถึงตอนนี้ ก็รู้สึกตื่นเต้นเลยครับ ในฐานะที่ได้เรียนเป็นแพทย์เฉพาะทางด้าน Field Epidemiology การออกไปถึงพื้นที่เกิดโรคเพื่อหาสาเหตุนี่แหละคือการทำงานระบาดวิทยาภาคสนามอย่างหนึ่ง ไม่ได้ตั้งรับ นั่งเก้าอี้ รออยู่แต่ในสำนักงาน ซึ่งมีคนพูดให้เห็นภาพครับว่า ถ้าทำเช่นนั้นก็เป็น armchair epidemiologist หมอสโนว์นำข้อมูลบ้านที่อยู่ของผู้เสียชีวิตจากอหิวาต์ไปวาดลงในแผนที่ ซึ่งต่อมากลายเป็นแผนที่ชิ้นประวัติศาสตร์เลยเชียวนะ รูปในแผนที่ขีดสีแดงหนึ่งขีดคือผู้เสียชีวิตหนึ่งคน เขาพบว่า คนเสียชีวิตเกาะกลุ่มอยู่ใกล้ปั้มน้ำบาดาลถนนบรอด (Broad Street) เขาไปเสนอต่อเจ้าหน้าที่ราชการเมืองลอนดอน เสนอให้ปิดปั๊มน้ำ ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่ได้เห็นด้วยเลยว่า สาเหตการป่วยนั้นเกิดจากน้ำ แต่ก็ยอมทำตามเป็นมาตรการเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง เมื่อถอดคันโยกปั๊มน้ำถนนบรอด การระบาดก็หยุดลงอย่างรวดเร็ว หมอจอห์น สโนว์ ยังไม่หยุดเท่านั้น พยายามจะหาความเชื่อมโยงการเสียชีวิตกับปั๊มน้ำนี้ให้ชัดเจนขึ้นไปอีก เขาพบว่า มีหญิงหม้ายคนหนึ่งเสียชีวิตทั้งที่อยู่ไกลจากปั๊มน้ำแห่งนี้ แต่เป็นเพราะเธอติดใจรสชาติของน้ำบาดาลปั๊มนี้ จึงให้คนรับใช้มาขนน้ำไปดื่มเป็นประจำ (อย่างนี้เขาเรียกว่า การมองหา outlier หรือ กรณีที่แปลกแยกไปจากคนส่วนใหญ่ แล้วดูรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร) ยังมีอีกกรณีหนึ่ง มีโรงงานในบล็อกถนนใกล้ปั๊มน้ำ (บางตำราก็บอกว่าเป็นโรงผลิตไวน์ และสุรา) มีคนอยู่หลายร้อย แต่ป่วยไม่กี่คน สอบถามดูก็รู้ว่า เขามีบ่อน้ำของเขาเอง (เหมือนโรงงานเบียร์บ้านเรา ได้แหล่งน้ำใต้ดินคุณภาพดี รสดี ก็ผลิดเบียร์ออกมาถูกปาก) นี่ก็เรียกเป็น outlier อีกเช่นกัน ย้อนไปรวมกับกรณีหญิงหม้าย กรณีหนึ่ง อยู่ตั้งไกล แต่ป่วย ส่วนอีกกรณี อยู่ใกล้ ๆ ทำไมไม่ค่อยป่วย ยังไม่จบแค่นั้น หมอสโนว์ยังสอบสวนการระบาดไปจนทราบว่า มีเด็กทารกที่ป่วยและเสียชีวิตตั้งแต่แรกเริ่มจะเกิดการระบาด ผ้าอ้อมเด็กคนดังกล่าว ถูกนำไปทิ้งบ่อน้ำใกล้ปั๊มน้ำบาดาลถนนบรอด ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของการปนเปื้อนและเกิดการระบาดนั่นเอง เจ้าหน้าที่เมืองลอนดอนฟังการนำเสนอจากหมอสโนว์ ก็ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ว่าอาจรู้สึกเสียหน้า รับไม่ได้ที่น้ำบาดาลของเมืองมีสิ่งสกปรก จนกระทั่งปี ค.ศ. 1884 โรเบิร์ต ค็อค สามารถแยกเชื้อ เพาะเลี้ยงเชื้อ Cholera สาเหตุของอหิวาตกโรคได้สำเร็จ ความเชื่อเรื่อง Germ Theory จึงมีสูงขึ้นอย่างกว้างขวาง รวมถึงการศึกษาของหลุยส์ ปาสเตอร์ ที่ทำให้โลกเรามีความรู้เรื่องเชื้อโรค การทำให้ปราศจากเชื้อ และการพัฒนาวัคซีน เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้
ส่งท้าย ใครอยากดูคลิปต้นฉบับ ความยาว 4 นาทีกว่า คลิกดูข้างล่างนี้ครับ ที่ผมเขียนมามีประเด็มเสริมเข้าไปก็หลายส่วน เพื่อให้ได้มุมมองเพิ่มเติมนะครับ ขอบคุณที่อ่านมาจนจบ ไว้พบกันใหม่ สวัสดีครับ ขอขอบคุณ คลิปความรู้ TED Ed เรื่อง How a few scientists transformed the way we think about disease อ้างอิง 1. "Doctor John Snow Blames Water Pollution for Cholera Epidemic" Department of Epidemiology, UCLA, available at: https://www.ph.ucla.edu/epi/snow/fatherofepidemiology.html accessed date: May 27, 2023 2. "Principles of Epidemiology | Lesson 1 - Section 2" US CDC. available at: https://www.cdc.gov/csels/dsepd/ss1978/lesson1/section2.html accessed date: May 27, 2023 NIH หรือ National Institute of Health เป็นหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ ที่ให้ทุนวิจัยทั้งในและต่างประเทศ นับว่าเป็นหน่วยงานที่น่าสนใจ เขาสร้างความรู้ไม่ใช่ด้วยคนในสถาบันของเขาเท่านั้น แต่ยังชวนคนเก่งจากประเทศอื่น ๆ ไปสร้างความรู้ได้ด้วย การสร้างความรู้นั้นมีหลักฐานปรากฎเป็นบทความตีพิมพ์ บางเรื่องเขาไม่อาจศึกษาในประเทศได้ ต้องศึกษาในต่างประเทศ ด้วยคนของประเทศนั้น ๆ
เว็บเพจในรูปข้างบนนี้คือ รายงานการให้ทุนศึกษาวิจัยของ NIH ผมได้ลองเข้าไปค้นดูแล้วรู้สึกทึ่งหลายอย่าง อยากชวนให้ผู้อ่านได้ลองเข้าไปดูครับ เว็บนี้คือ report.nih.gov สังเกตว่ามี box ให้ใส่คำค้น ลองใส่คำว่า Thailand ดูครับ รูปนี้เป็นการมาเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข และ ผอ. US CDC เมื่อประมาณปี 2013 โดยเว็บไซต์ของ CDC ได้โพสต์ไว้เมื่อ 26 พ.ย. 2013 (คลิก) [1]
|
Archives
October 2023
Categories
All
บล็อกล่าสุด
|