Transcript (ถอดบทบรรยาย) วิดีโอคลิป งานมอบเหรียญขุนประเมินฯ อ.สุชาติ
พิธีมอบรางวัลเกียรติยศ เหรียญขุนประเมินวิมลเวชช์สำหรับผู้อุทิศตนในงานป้องกันควบคุมโรค ประจำปีพุทธศักราช 2559
.
สัตบรุษผู้มีเมตตาต่อคนทุกชั้น นามว่าขุนประเมินวิมลเวชช์ หรือนายแพทย์ประเมิน จันทวิมล เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2448 ปีมะเส็ง เป็นบุตรของนายเหม็ง และนางวัน ตันตระกูล จันทวิมล
.
ท่านเป็นคนเรียนเก่ง จวบจนเรียนจบแพทย์ศิริราช รุ่นที่ 31 ในปี พ.ศ. 2468 ด้วยวัยเพียง 20 ปี 5 เดือน และด้วยใจรักงานสาธารณสุขชนบท จึงสมัครเข้ารับราชการที่กรมสาธารณสุข สังกัดกระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งแพทย์สำรอง ที่ไหนขาดนายแพทย์ ที่นั่นแพทย์สำรองจะถูกส่งไป ซึ่งเปรียบเสมือนหมอใหญ่ของคนชนบท
.
และด้วยความสนใจด้านการควบคุมโรคติดต่อ ท่านใช้ชีวิตราชการส่วนใหญ่ในการปราบโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค โรคพยาธิปากขอ และโรคติดต่ออื่น ๆ เป็นเวลาเกือบ 30 ปี หน้าที่การงานก้าวหน้าตามลำดับขั้น จนได้เลื่อนชั้นเป็นผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ กรมอนามัยและเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองอธิบดีกรมอนามัย เมื่อปี พ.ศ. 2509
.
และด้วยคุณความดี ท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มากมาย และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนประเมินวิมลเวชช์ เมื่อ พ.ศ. 2474
.
และด้วยพลังแห่งศรัทธาอันแรงกล้า ด้วยความวิริยะ บากบั่นสู้อย่างไม่ย่อท้อ ท่านได้สร้างผลงานเด่นเป็นที่ประจักษ์ต่อคนรุ่นหลัง ด้วยการเป็นกำลังสำคัญช่วยทำให้ประเทศไทยปราศจากโรคติดต่ออันตราย เช่น กาฬโรค ไข้ทรพิษ และยังมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ จนได้รับเหรียญสุดดีจากกองทัพรัฐบาลจีน
.
ขุนประเมินวิมลเวชช์ คือต้นแบบคนทำงาน ด้วยความเสียสละเพื่อประชาชน ด้วยเทิดทูนพระราชดำรัสของสมเด็จพระบรมราชชนกที่ว่า ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นสอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์
.
และในโอกาสครบรอบ 42 ปี วันสถาปนากรมควบคุมโรค คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับของกรมควบคุมโรค ขอนอบน้อมคารวะ อัญเชิญนาม ขุนประเมินวิมลเวชช์ เป็นชื่อเหรียญเชิดชูเกียรติ สำหรับผู้อุทิตตนในงานป้องการควบคุมโรคซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีแรก เพื่อระลึกถึงคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนา และการเสียสละตนในงานป้องกันควบคุมโรค จึงขอมอบรางวัลเกียรติยศ เหรียญขุนประเมินวิมลเวชช์ สำหรับผู้ที่อุทิตตนในงานป้องกันควบคุมโรค ประจำปีพุทธศักราช 2559 แด่ ...
=======================
"นายแพทย์สุชาติ เจตนเสน"
=======================
.
นายแพทย์สุชาติ ถือเป็นตำนานที่ยังมีชีวิต เป็นต้นแบบคนดี คนเก่ง ในงานป้องกันควบคุมโรคที่ควรก้าวเดินตาม
.
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2472 ปัจจุบันสิริอายุครบ 87 ปี
.
ท่านจบการศึกษาจากแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในปี พ.ศ. 2495 จบสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
.
ท่านรับราชการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2495 ในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยควบคุมโรคพยาธิลำไส้ จ.อุดรธานี และสกลนคร
.
ปี พ.ศ. 2501 ท่านได้ย้ายมารับหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกโรคติดต่อทั่วไป รับผิดชอบควบคุมการระบาดของอาหิวาตกโรค ท่านได้รายงานการระบาดของเอลทอร์วิบริโอครั้งแรกที่จังหวัดอุบลราชธานี และการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิสที่จังหวัดพิษณุโลก
.
ต่อมาปี พ.ศ. 2504 ท่านได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ กรมอนามัย ท่านได้เริ่มการศึกษาทดลองการควบคุมยุงลายที่ห้วยขวาง จังหวัดพระนคร ท่านมีผลงานมากมายเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบ
.
ท่านได้ริเริ่มพัฒนางานระบาดวิทยา มีการจัดตั้งโครงการระบาดวิทยาแห่งชาติ และเริ่มต้นวางเครือข่ายงานเฝ้าระวังโรคเป็นครั้งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2513
.
ต่อมาช่วงปลายปี พ.ศ. 2515 จึงมีการจัดตั้งกองระบาดวิทยาขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองระบาดวิทยาคนแรก
.
จนถึงปี พ.ศ. 2526 ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่กรมคุบคุมโรคติดต่อและปี พ.ศ. 2528 ท่านได้ไปปฏิบัติงานกับองค์การอนามัยโลกจนเกษียนอายุเมื่อปี พ.ศ. 2535
.
หลังเกษียนอายุ ท่านยังคงทำงานในแวดวงระบาดวิทยาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกและงานของกระทรวงสาธารณสุขในการรับมือกับโรคติดต่อที่สำคัญ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน
.
นายแพทย์สุชาติเป็นบุคคลที่มีความทุ่มเท เสียสละ ให้กับการทำงานระบาดวิทยามาโดยตลอด ท่านเป็นผู้วางระบบระบาดวิทยาของประเทศไทย โดยจัดตั้งระบบเฝ้าระวังโรคที่ใช้แบบ รง.506 เป็นจุดเริ่มต้นของข้อมูลระบาดวิทยา และได้ถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญของงานสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
.
ท่านได้บุกเบิกงานระบาดวิทยาภาคสนามของประเทศไทย โดยเป็นผู้ก่อตั้งโครงการฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนามหรือ FETP และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
.
ท่านเป็นกำลังสำคัญที่สนับสนุนการพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว หรือ SRRT โดยได้ร่วมเป็นวิทยากรให้คำปรึกษาชี้แนะและสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีม SRRT ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง
.
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นที่ปรึกษากรมควบคุมโรคในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศไทย
.
นายแพทย์สุชาติ ท่านเป็นคนสุภาพ เรียบง่าย ใจดี ไม่ถือตัว ดูสง่า และเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก ท่านเป็นคนสุภาพ ให้เกียรติผู้อื่น ไม่โอ้อวด จึงเป็นที่รักและเคารพนับถือจากเพื่อน รุ่นพี่ และลูกศิษย์
.
ท่านใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่มี ถ่ายทอดและสร้างประโยชน์ให้แก่คนในวงการสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
.
นายแพทย์สุชาติถือเป็นแบบอย่างของนักระบาดวิทยาและนักสาธารณสุขที่ดี ที่ทรงคุณค่าและหาได้ยากยิ่ง คู่ควร เหมาะสม ที่คนรุ่นใหม่จะเจริญรอยตาม
.
คนเราเปลี่ยนได้ สิ่งมีชีวิตทุกอย่างเปลี่ยนได้
นิสัยคนเปลี่ยนได้ นิสัยโลกก็เปลี่ยนได้
เราถึงต้องติดตาม เฝ้าระวัง สอบสวน และรู้ให้ทัน
"รู้ทันโลก รู้ทันโรค"
.
สัตบรุษผู้มีเมตตาต่อคนทุกชั้น นามว่าขุนประเมินวิมลเวชช์ หรือนายแพทย์ประเมิน จันทวิมล เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2448 ปีมะเส็ง เป็นบุตรของนายเหม็ง และนางวัน ตันตระกูล จันทวิมล
.
ท่านเป็นคนเรียนเก่ง จวบจนเรียนจบแพทย์ศิริราช รุ่นที่ 31 ในปี พ.ศ. 2468 ด้วยวัยเพียง 20 ปี 5 เดือน และด้วยใจรักงานสาธารณสุขชนบท จึงสมัครเข้ารับราชการที่กรมสาธารณสุข สังกัดกระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งแพทย์สำรอง ที่ไหนขาดนายแพทย์ ที่นั่นแพทย์สำรองจะถูกส่งไป ซึ่งเปรียบเสมือนหมอใหญ่ของคนชนบท
.
และด้วยความสนใจด้านการควบคุมโรคติดต่อ ท่านใช้ชีวิตราชการส่วนใหญ่ในการปราบโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค โรคพยาธิปากขอ และโรคติดต่ออื่น ๆ เป็นเวลาเกือบ 30 ปี หน้าที่การงานก้าวหน้าตามลำดับขั้น จนได้เลื่อนชั้นเป็นผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ กรมอนามัยและเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองอธิบดีกรมอนามัย เมื่อปี พ.ศ. 2509
.
และด้วยคุณความดี ท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มากมาย และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนประเมินวิมลเวชช์ เมื่อ พ.ศ. 2474
.
และด้วยพลังแห่งศรัทธาอันแรงกล้า ด้วยความวิริยะ บากบั่นสู้อย่างไม่ย่อท้อ ท่านได้สร้างผลงานเด่นเป็นที่ประจักษ์ต่อคนรุ่นหลัง ด้วยการเป็นกำลังสำคัญช่วยทำให้ประเทศไทยปราศจากโรคติดต่ออันตราย เช่น กาฬโรค ไข้ทรพิษ และยังมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ จนได้รับเหรียญสุดดีจากกองทัพรัฐบาลจีน
.
ขุนประเมินวิมลเวชช์ คือต้นแบบคนทำงาน ด้วยความเสียสละเพื่อประชาชน ด้วยเทิดทูนพระราชดำรัสของสมเด็จพระบรมราชชนกที่ว่า ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นสอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์
.
และในโอกาสครบรอบ 42 ปี วันสถาปนากรมควบคุมโรค คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับของกรมควบคุมโรค ขอนอบน้อมคารวะ อัญเชิญนาม ขุนประเมินวิมลเวชช์ เป็นชื่อเหรียญเชิดชูเกียรติ สำหรับผู้อุทิตตนในงานป้องการควบคุมโรคซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีแรก เพื่อระลึกถึงคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนา และการเสียสละตนในงานป้องกันควบคุมโรค จึงขอมอบรางวัลเกียรติยศ เหรียญขุนประเมินวิมลเวชช์ สำหรับผู้ที่อุทิตตนในงานป้องกันควบคุมโรค ประจำปีพุทธศักราช 2559 แด่ ...
=======================
"นายแพทย์สุชาติ เจตนเสน"
=======================
.
นายแพทย์สุชาติ ถือเป็นตำนานที่ยังมีชีวิต เป็นต้นแบบคนดี คนเก่ง ในงานป้องกันควบคุมโรคที่ควรก้าวเดินตาม
.
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2472 ปัจจุบันสิริอายุครบ 87 ปี
.
ท่านจบการศึกษาจากแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในปี พ.ศ. 2495 จบสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
.
ท่านรับราชการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2495 ในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยควบคุมโรคพยาธิลำไส้ จ.อุดรธานี และสกลนคร
.
ปี พ.ศ. 2501 ท่านได้ย้ายมารับหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกโรคติดต่อทั่วไป รับผิดชอบควบคุมการระบาดของอาหิวาตกโรค ท่านได้รายงานการระบาดของเอลทอร์วิบริโอครั้งแรกที่จังหวัดอุบลราชธานี และการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิสที่จังหวัดพิษณุโลก
.
ต่อมาปี พ.ศ. 2504 ท่านได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ กรมอนามัย ท่านได้เริ่มการศึกษาทดลองการควบคุมยุงลายที่ห้วยขวาง จังหวัดพระนคร ท่านมีผลงานมากมายเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบ
.
ท่านได้ริเริ่มพัฒนางานระบาดวิทยา มีการจัดตั้งโครงการระบาดวิทยาแห่งชาติ และเริ่มต้นวางเครือข่ายงานเฝ้าระวังโรคเป็นครั้งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2513
.
ต่อมาช่วงปลายปี พ.ศ. 2515 จึงมีการจัดตั้งกองระบาดวิทยาขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองระบาดวิทยาคนแรก
.
จนถึงปี พ.ศ. 2526 ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่กรมคุบคุมโรคติดต่อและปี พ.ศ. 2528 ท่านได้ไปปฏิบัติงานกับองค์การอนามัยโลกจนเกษียนอายุเมื่อปี พ.ศ. 2535
.
หลังเกษียนอายุ ท่านยังคงทำงานในแวดวงระบาดวิทยาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกและงานของกระทรวงสาธารณสุขในการรับมือกับโรคติดต่อที่สำคัญ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน
.
นายแพทย์สุชาติเป็นบุคคลที่มีความทุ่มเท เสียสละ ให้กับการทำงานระบาดวิทยามาโดยตลอด ท่านเป็นผู้วางระบบระบาดวิทยาของประเทศไทย โดยจัดตั้งระบบเฝ้าระวังโรคที่ใช้แบบ รง.506 เป็นจุดเริ่มต้นของข้อมูลระบาดวิทยา และได้ถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญของงานสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
.
ท่านได้บุกเบิกงานระบาดวิทยาภาคสนามของประเทศไทย โดยเป็นผู้ก่อตั้งโครงการฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนามหรือ FETP และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
.
ท่านเป็นกำลังสำคัญที่สนับสนุนการพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว หรือ SRRT โดยได้ร่วมเป็นวิทยากรให้คำปรึกษาชี้แนะและสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีม SRRT ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง
.
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นที่ปรึกษากรมควบคุมโรคในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศไทย
.
นายแพทย์สุชาติ ท่านเป็นคนสุภาพ เรียบง่าย ใจดี ไม่ถือตัว ดูสง่า และเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก ท่านเป็นคนสุภาพ ให้เกียรติผู้อื่น ไม่โอ้อวด จึงเป็นที่รักและเคารพนับถือจากเพื่อน รุ่นพี่ และลูกศิษย์
.
ท่านใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่มี ถ่ายทอดและสร้างประโยชน์ให้แก่คนในวงการสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
.
นายแพทย์สุชาติถือเป็นแบบอย่างของนักระบาดวิทยาและนักสาธารณสุขที่ดี ที่ทรงคุณค่าและหาได้ยากยิ่ง คู่ควร เหมาะสม ที่คนรุ่นใหม่จะเจริญรอยตาม
.
คนเราเปลี่ยนได้ สิ่งมีชีวิตทุกอย่างเปลี่ยนได้
นิสัยคนเปลี่ยนได้ นิสัยโลกก็เปลี่ยนได้
เราถึงต้องติดตาม เฝ้าระวัง สอบสวน และรู้ให้ทัน
"รู้ทันโลก รู้ทันโรค"