สมาคมนักระบาดวิทยาภาคสนาม (FEAT)
  • Home
  • Hall of Fame
    • อ.สุชาติ เจตนเสน >
      • Transcript วิดีโอ อ.สุชาติ
    • อ.ประยูร กุนาศล
    • อ.ธวัช จายนียโยธิน
    • Honorary Awards
    • FETP in Media
    • Alumni's Hall Of Fame
  • กิจกรรมและปฏิทิน
    • Photo gallery
  • About FEAT
    • ฺคณะกรรมการสมาคม
    • Who We Are
    • Association Rules
    • Members
  • Member Application
  • Academic
    • E-book
    • PH Guideline
  • Web link
  • Contact Us
  • Blog

FEAT Blog

FEAT blog

มานุษยวิทยากับการเกิดโรคระบาด

3/6/2023

1 Comment

 
Picture
          ​ผมมีความสนใจในประเด็นด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา วัฒนธรรม และพฤติกรรของมนุษย์กับการเกิดโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ตลอดจนการเกิดโรคระบาดในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าเวลาพูดถึงประเด็นด้านมานุษยวิทยาที่มีความสัมพันธ์กับการแพทย์และสุขภาพ พวกเราจะนึกถึงท่านนายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมานุษยวิทยาทางการแพทย์ ซึ่งท่านได้เขียนบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ มานุษยวิทยากับการเกิดโรคระบาด ซึ่งผมขอสรุปสั้นๆดังต่อไปนี้
Picture
ผู้ป่วยโรค Kuru ตัวสั่น กระตุก ไม่มีแรงยืนหรือแม้แต่นั่งตัวตรงด้วยตนเอง (credit ภาพ - wikipedia)
          ​เมื่อพูดถึงคำอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมานุษยวิทยา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกับการเกิดโรค จะมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต ได้แก่ การเกิดโรค Kuru ในผู้หญิงที่อาศัยในชุมชนชาวฟอร์ ที่ปาปัว นิวกินี โดยพบว่าผู้หญิงในชุมชนจะมีความผิดปกติในการเคลื่อนไหว สั่น และชักกระตุก และเสียชีวิตในที่สุด ในตอนแรกนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรม แต่เมื่อนักมานุษยวิทยาได้เขียนผังเครือญาติของทุกครอบครัวในชุมชน พบว่าแท้จริงแล้วโรคนี้ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม แต่เกิดจากการที่ชุมชนนี้มีวัฒนธรรมการจัดการศพผู้ป่วยที่เป็นโรคโดยวิธีที่ไม่เหมาะสม อันส่งผลทำให้เกิดการรับเชื้อโรคจากผู้เสียชีวิตแล้วเกิดโรคตามมา [1,2] การค้นพบว่าพิธีกรรมการทำศพเป็นสาเหตุของการติดเชื้อทำให้เกิดมาตรการที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา ซึ่งทำให้ในที่สุดโรคดังกล่าวที่ชาวฟอร์เรียกว่า “Kuru” ก็ได้ถูกกำจัดไปจากชุมชนชาวฟอร์จนหมดสิ้น
          ​ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม วิถีชีวิต ทำให้เข้าใจการเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น คนพื้นเมืองในประเทศตุรกีและจีนที่จะห่อตัวเด็กทารกแน่น ๆ เนื่องจากอากาศหนาว ทำให้ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ ทำให้เด็กมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย [3] หรือในประเทศจีนที่ชาวสวนมักจะใช้อุจจาระในการทำปุ๋ยสำหรับทำสวนผัก ทำให้ชาวสวนที่เดินเท้าเปล่าติดเชื้อพยาธิปากขอได้ง่าย และเพศหญิงมักเป็นผู้ทำงานในสวน จึงพบพยาธิปากขอมากกว่า [4]
Picture
Prof. Shirley Lendenbaum เป็นนักมานุษยวิทยาการแพทย์ที่ไปคลุกคลีกับชนพื้นเมืองชาว FORE ศึกษาทางมานุษยวิทยาจนสามารถหยุดการระบาดได้
          ​การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวิทยาและวัฒธรรม วิถีชีวิต มีผลต่อการเกิดโรคในแต่ละยุคสมัย ในตอนแรกที่ด้านสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อมยังไม่ดีมากนัก ทำให้เกิดการระบาดของโรคอหิวตกโรคในชุมชน ต่อมาเมื่อมีความสมบูรณ์ทางอาหารและเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตมนุษย์ ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เมื่อเข้าสู่ยุคปัจจุบันที่มนุษย์มีพฤติกรรมที่อยากค้นคว้า อยากรู้ อยากลอง ทำให้เกิดการค้นพบโรคติดต่ออุบัติใหม่ต่างๆ เช่น การติดเชื้อไวรัสอีโบลา การติดเชื้อไวรัสซาร์ ตลอดจนการติดเชื้อไวรัสโคนา 2019 ที่เกิดจากการรับประทานค้างคาวดิบ 
          ​จากบทความข้างต้น เห็นว่า ทฤษฎีด้านมานุษยวิทยา สังคม วัฒนธรรม มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค และมีผลต่อการดูแลผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน มานุษยวิทยา ทำให้การกำหนดมาตรการหรือโครงการในการควบคุมป้องกันโรค มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในชุมชนมากขึ้น ทำให้การดำเนินการมาตรการมีความสำเร็จได้สูงและมีความยั่งยืน
***​สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://db.sac.or.th/covid-19/th/article-details.php?atc_id=1
Picture
อ้างอิง
        1. Kuru (disease) available at https://en.wikipedia.org/wiki/Kuru_(disease)
        2.Liberski PP, Sikorska B, Lindenbaum S, Goldfarb LG, McLean C, Hainfellner JA, Brown P. Kuru: genes, cannibals and neuropathology. J Neuropathol Exp Neurol. 2012 Feb;71(2):92-103. doi: 10.1097/NEN.0b013e3182444efd. PMID: 22249461; PMCID: PMC5120877.
        3. Yurdakok K, Yavuz T, Taylor CE. Swaddling and acute respiratory infections. Am J Public Health. 1990 Jul;80(7):873-5. doi: 10.2105/ajph.80.7.873. PMID: 2356917; PMCID: PMC1404984.
        4. W. W. Cort, J. B. Grant, and N. R. Stoll, “General Summary of Results,” in W. W. Cort, J. B. Grant, and N. R. Stoll (eds.), Researches on Hookworm in China: Embodying the Results of the Work of the China Hookworm Commission, June, 1923 to November, 1924, Monographic Series no. 7 (Baltimore: The American Journal of Hygiene, 1926), 393–98. {อ้างใน  The Guts of the Matter A Global History of Human Waste and Infectious Intestinal Disease
 , pp. 103 - 123 DOI: https://doi.org/10.1017/9781108642323.007 และอ้างใน Human Ecology and Infectious Diseases available at https://www.ircwash.org/sites/default/files/245.12-83HU-8165.pdf
 page 192 }
Picture

Author

นพ.วรยศ ดาราสว่าง FETP รุ่น 37
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลบุรีรัมย์

FEAT 2022
1 Comment
Chawetsan Namwat
3/6/2023 20:26:03

น่าสนใจมากครับ มานุษยวิทยาการแพทย์มีเรื่องให้น่าตื่นตะลึง
ผมพบสารคดีเรื่องโรค Kuru ใน Medical Detective Story ด้วยครับ https://youtu.be/5PpWt4CTo74

Reply



Leave a Reply.

    Archives

    October 2023
    September 2023
    August 2023
    June 2023
    May 2023
    April 2023
    February 2022

    Categories

    All
    สาระน่ารู้
    ความรู้ระบาดวิทยา
    แวดวงพี่น้อง FETP

    RSS Feed

    บล็อกล่าสุด
    • ประสบการณ์ใน world-class program CDC Public Health Emergency Management Fellowship Training Program, Cohort 16
    • หมอนักสืบ ออกทะเล ตอน ภัยเงียบ…กระแสน้ำไหลย้อนกลับ
    • จากเรื่องราวของ Transgender Teen คนหนึ่ง สู่การเติมความรู้ระบาดวิทยาใน Pride Month
    • 3 คำถามกับนายก: Pride Month กับนักระบาดวิทยา เกี่ยวข้องกันอย่างไร
    • น้อง FETP ปี 2566  “ไม่ต้องตกใจ”
    • มานุษยวิทยากับการเกิดโรคระบาด
    • พี่ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์ FETP คนไทยหนึ่งเเดียวที่ได้เรียน EIS
    • หมอจอห์น สโนว์ ผู้ใช้ระบาดวิทยาสอบสวนโรคภาคสนาม เพื่อไขความจริงโรคอหิวาต์ระบาดในลอนดอน
    • รู้หรือไม่ คนไทยได้ทุนวิจัยจากจาก NIH สหรัฐอเมริกาเท่าไหร่
    • รูปเล่าเรื่อง - รมต. สธ. สหรัฐฯ และ ผอ. US CDC มอบใบประกาศนียบัตรแก่ อ.สุชาติ​
    • 7 วิธีโตอย่างมั่นคงในระบบราชการ
    • กว่าจะมาเป็นแพทย์ด้านระบาดวิทยา
Picture
นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ
​นายกสมาคม
Proudly powered by Weebly
  • Home
  • Hall of Fame
    • อ.สุชาติ เจตนเสน >
      • Transcript วิดีโอ อ.สุชาติ
    • อ.ประยูร กุนาศล
    • อ.ธวัช จายนียโยธิน
    • Honorary Awards
    • FETP in Media
    • Alumni's Hall Of Fame
  • กิจกรรมและปฏิทิน
    • Photo gallery
  • About FEAT
    • ฺคณะกรรมการสมาคม
    • Who We Are
    • Association Rules
    • Members
  • Member Application
  • Academic
    • E-book
    • PH Guideline
  • Web link
  • Contact Us
  • Blog