FEAT blog
ภัยเงียบ (The Invisible Beach Hazard) ที่พบมีผู้เสียชีวิตเวลาไปเล่นน้ำทะเลที่พบบ่อยคือ กระแสน้ำไหลย้อนกลับ (Rip current) มีสองแบบหลัก ๆ คือ ที่ตำแหน่งเดิม และแบบย้ายตำแหน่ง [1] เกิดจากคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง ทรายใต้ทะเลจะถูกชะล้างออกไปเป็นแอ่งกระทะ คลื่นจากขอบกระทะก็จะพุ่งเข้ามา กระแสคลื่นใต้น้ำจะแรงเป็นคลื่นวน เมื่อระดับความสูงพื้นทะเลต่างกัน ทำให้กระแสน้ำไหลย้อนออกจากฝั่ง สังเกตได้ยาก ความรุนแรงขึ้นกับลักษณะชายฝั่ง หาดทราย คลื่น และ ฤดูกาล โดยส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตมักจะว่ายน้ำเป็น และมักจะตายหลายคนเพราะลงไปช่วยกันเองแบบผิด ๆ ดังนั้น ก่อนลงทะเลควรอ่านป้ายแจ้งเตือน ดูว่ามีปักธงแดงบริเวณนั้นหรือไม่ คลื่นสูงลมแรงหรือไม่ ถ้าไม่มีป้ายหรือธง ควรสังเกตบริเวณยอดคลื่นที่ไม่มีแตกฟองขาวเหมือนคลื่นอื่น ๆ (ดังรูป) และน้ำทะเลมีสีขุ่นไหลย้อน หรือเห็นใบไม้ขยะลอยออกเป็นแนวร่อง ให้งดลงเล่น แต่ถ้าหลวมตัวลงไปว่ายแล้ว ควรสังเกตว่า ถ้าตัวลอยออกจากชายหาดเรื่อย ๆ เมื่อพยายามว่ายเข้าฝั่งกลับรู้สึกว่าสวนกระแสน้ำ ให้สงสัยกระแสน้ำไหลย้อนกลับไว้ก่อน ไม่ต้องมองโลกในแง่ดี แต่จงตั้งสติแล้วว่ายขนานชายฝั่งไปจนรู้สึกว่ากระแสน้ำหรือคลื่นดันตัวเข้าฝั่งจึงว่ายเข้าสู่ชายหาด ผู้ที่ว่ายเป็นแต่ช่วยไม่เป็น ไม่ควรลงไปช่วยเด็ดขาดเพราะมีโอกาสจมน้ำได้เช่นกัน และเป็นการเพิ่มภาระให้เจ้าหน้าที่กู้ชีพ (Lifeguard ที่ผ่านการรับรอง) ซึ่งมีโอกาสตายสูงถ้าตามลงไปช่วยกันหลายคน กรณีคลื่นลมแรง การโยนยื่นแทบไม่ได้ผลเพราะโดนตีกลับ ตามประสบการณ์ในไทยพบว่า ในกรณีที่คลื่นแรงมากใช้บอร์ดชีวิต (Surf Rescue) ยังไม่ได้เลยค่ะ ต้องใช้เจ็ตสกีออกพร้อมเจ้าหน้าที่กู้ชีพ 2 คน ไปช่วยผู้จมน้ำ 1 คน ซึ่งพื้นที่หาดหนึ่ง ๆ จะมีจำนวนเจ้าหน้าที่กู้ชีพไม่มากหรือไม่มีเลย (ส่วนใหญ่) ในส่วนตัวไม่คอยเห็นด้วยกับการการระบุจำนวนเจ้าหน้าที่กู้ชีพที่ใช้วิธีคำนวนจากระยะทาง ควรคิดจาก จุดเสี่ยง ความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง และความถี่ ทั้งนี้ยังเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดอุปกรณ์ช่วยเหลือและตำแหน่งที่ตั้งอุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมไปถึงสมรรถนะของเจ้าหน้าที่กู้ชีพอีกด้วย นอกจากกระแสน้ำไหลย้อนกลับแล้วยังมีความสี่ยงอื่น ๆ อีก [2] อาทิเช่น กระแสคลื่นใต้น้ำ (Undertow) ที่กระแทกกระดูกแตกได้ Wave break on the ledge (คลื่นตบลงทะเล หรือคลื่นลูบ) และ กระแสน้ำวน (Whirlpool) สองอย่างหลังนี่ผนวกกันตายทรมานมากค่ะ ไว้โอกาสหน้าจะมาเล่าสู่กันฟังค่ะ สื่ออ้างอิง/ศึกษาเพิ่มเติม
เกี่ยวกับผู้เขียน
ศ.เชี่ยวชาญพิเศษ ดร.พญ.ลักขณา ไทยเครือ (พี่ก๊วย) เป็นอีกหนึ่งศิษย์เก่า FETP ที่พวกเราทุกคนภาคภูมิใจ พี่ก๊วยเรียน FETP รุ่นที่ 11 (2533) มีความสามารถรอบตัว ทั้งวิชาการ ดนตรี กีฬา พัฒนาเครือข่าย ฯ FEAT 2022
0 Comments
Leave a Reply. |
Archives
October 2023
Categories
All
บล็อกล่าสุด
|