สมาคมนักระบาดวิทยาภาคสนาม (FEAT)
  • Home
  • Hall of Fame
    • อ.สุชาติ เจตนเสน >
      • Transcript วิดีโอ อ.สุชาติ
    • อ.ประยูร กุนาศล
    • อ.ธวัช จายนียโยธิน
    • Honorary Awards
    • FETP in Media
    • Alumni's Hall Of Fame
  • กิจกรรมและปฏิทิน
    • Photo gallery
  • About FEAT
    • ฺคณะกรรมการสมาคม
    • Who We Are
    • Association Rules
    • Members
  • Member Application
  • Academic
    • E-book
    • PH Guideline
  • Web link
  • Contact Us
  • Blog

FEAT Blog

FEAT blog

กว่าจะมาเป็นแพทย์ด้านระบาดวิทยา

26/2/2022

2 Comments

 
ตอนสมัยเป็นนักเรียนแพทย์ พอนึกถึงคำว่า “ระบาดวิทยา” ก็จะนึกถึงการทำงานวิจัยที่หนักหน่วง ตั้งแต่การเรียนเรื่องระเบียบวิธีวิจัยและชีวสถิติ การนำเสนอโครงร่างงานวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอผลการวิจัย พอจบเป็นแพทย์ ก็จะมีความเข้าใจตรงนี้ว่า คนที่เป็นแพทย์ด้านระบาดวิทยา จะต้องเป็นคนที่เก่งวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขมากๆแน่เลย แต่พอได้มาเรียนจริงๆที่ FETP ทำให้ผมรู้ว่า การทำวิจัย มันเป็นเพียงแค่ “ส่วนหนึ่ง” เท่านั้น
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้นิดหนึ่ง จะมีคำถามที่หลายๆคนชอบถามผมเมื่อตัดสินใจได้ว่าจะไปขอทุนเพื่อไปเรียนด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงระบาดวิทยา) ก็คือ ทำไมถึงเรียน คำตอบที่ตอบโดยกลั่นกรองมาจากส่วนลึกของจิตใจก็คือ “การไม่อยากโดนโทรปลุกตอนอยู่เวรเมื่ออายุเพิ่มขึ้น มันเหนื่อย” เมื่อผมได้รับทุน (ตอนนั้นขอทุนจากโรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์) และได้รับการตอบรับให้เรียนที่ FETP (หลักสูตร 2 ปี) ชีวิตก็ต้องขนสำมะโนครัวไปอยู่ที่นนทบุรีเป็นเวลา 2 ปี และแล้วชีวิตการเรียนเฉพาะทางก็ได้เริ่มต้นขึ้น
วันแรกของการเรียนหลักสูตรได้จัดให้ให้มีการเรียนพื้นฐานด้านระบาดวิทยาภาคสนามและชีวสถิติ (Introductory Course on Field Epidemiology and Biostatistics) ซึ่งจัดทุกๆเดือนมิถุนายน เป็นหลักสูตร 1 เดือน โดยการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แพทย์ประจำบ้าน (เค้าเรียกว่า “trainee”) ทุกคนต้องเข้า ซึ่งตอนนั้นผมไม่เก่งภาษาอังกฤษเลย (ไม่ว่าจะฟังพูดอ่านเขียน) ทำให้ตอนเรียนต้องตั้งใจมาก เมื่อการเรียนในช่วง 1 เดือน ผ่านพ้นไป จะมีกิจกรรมหนึ่งที่เรียกได้ว่า “หิน” ที่สุดของหลักสูตร ก็คือ กิจกรรม “Monday Meeting” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ trainee คนใดที่ต้องนำเสนองานในกิจกรรมนี้ จะมีความเครียดเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เหตุผลก็คือ ต้องนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ (ดมยาดมแปรบ) และต้องคอยตอบคำถามจากกลุ่ม trainee ปี 1  trainee ปี 2 และเหล่าบรรดาคณาจารย์ที่เรียกได้ว่าขนกันมาทั้งกองระบาด (มันคือเรื่องจริง) โดยต้องตอบคำถามและอภิปราย เป็นภาษาอังกฤษ (OMG!!) นอกจากนี้ในช่วง 2 ปีที่เรียน จะเจอโจทย์และความท้าทายที่หลากหลาย เช่น การสอบสวนโรค การเฝ้าระวังโรค การประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา งานวิจัย หรือโจทย์อื่นๆที่คณาจารย์มอบให้เพื่อฝึกทักษะของ trainee 
พอใกล้จบการศึกษาจาก FETP หนทางใหม่ที่ต้องหาก็คือ “การศึกษาต่อในระดับปริญญาโท” คือเรื่องมันมีอยู่ว่า ถ้าจะสอบวุฒิบัตรด้านระบาดวิทยา (ย่อว่า วว.) นอกจากจะเรียนที่ FETP แล้ว จะต้องเรียนปริญญาโทด้านระบาดวิทยาหรือสาธารณสุขด้วย (หลักสูตรของไทยหรือต่างประเทศก็ได้) ถ้าไม่เรียนปริญญาโทก็จะไม่สามารถสอบเอา วว. ได้ พอรับทราบดังนั้น ก็เริ่มหาที่เรียน อย่างที่บอกไว้ข้างต้น “ผมไม่เก่งภาษาอังกฤษเลย” ดังนั้นการเรียนปริญญาโทต่างประเทศคงต้องตัดทิ้ง ก็เลยมาลงเอยที่การเรียนปริญญาโท สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนั่นก็หมายความว่า “ต้องย้ายสัมมะโนครัวไปอยู่ที่อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิอีก 1 ปี TT” 
เมื่อ 1 ปี ผ่านไป ไวเหมือนโกหก (ส่งเล่มวิทยานิพนธ์ ทำเรื่องจบปริญญาโท บลาๆ เรียบร้อย) สิ่งที่ทำให้ trainee ที่ต่างคนต่างแยกย้ายไปตามเส้นทางของตัวเอง (บางคนเรียนมหาลัยอื่นในไทย บางคนเรียนต่างประเทศ) ก็ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งโดยนัดหมาย เพื่อทำสิ่งที่เหมือนกันก็คือ “การสอบบอร์ด” ซึ่งตอนนั้นพูดตรงๆ การเตรียมตัวสอบบอร์ดเป็นอะไรที่ “อภิมหาหิน” กว่าใดๆทั้งปวง เพราะเป็นการตัดสินว่าเราจะเป็นหมอเฉพาะทางหรือไม่ ซึ่งวันก่อนสอบเป็นอะไรที่ต้องสวดมนต์ไหว้พระ ภาวนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก เพื่อให้การสอบผ่านพ้น 
เมื่อการสอบผ่านพ้น และผลก็คือ ทุกคนที่มาสอบด้วยกัน สอบผ่านทุกคน ทำให้ต่างคนต่างแยกย้ายไปทำงานตามที่ที่ขอทุนมา แน่นอน ผมต้องกลับไปทำงานที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยทำงานในกลุ่มงานเวชกรรมสังคม ซึ่งในบทความต่อไป จะมาเล่าให้ฟังว่า ชีวิตการทำงานของหมอระบาดในโรงพยาบาลศูนย์ ทำอะไรบ้าง       
Picture
นพ.วรยศ ดาราสว่าง FETP รุ่น 37
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลบุรีรัมย์


FEAT 2022
2 Comments
Bhophkrit Bhopdhornangkul link
26/2/2022 23:32:26

เป้นบทความที่สร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆที่ดีครับ

Reply
Mitchell Graham link
17/11/2022 01:24:04

News successful white here make. Possible military because agree guy. Mean involve dream head.
Last push take system. Air month accept right participant early always.

Reply



Leave a Reply.

    Archives

    October 2023
    September 2023
    August 2023
    June 2023
    May 2023
    April 2023
    February 2022

    Categories

    All
    สาระน่ารู้
    ความรู้ระบาดวิทยา
    แวดวงพี่น้อง FETP

    RSS Feed

    บล็อกล่าสุด
    • ประสบการณ์ใน world-class program CDC Public Health Emergency Management Fellowship Training Program, Cohort 16
    • หมอนักสืบ ออกทะเล ตอน ภัยเงียบ…กระแสน้ำไหลย้อนกลับ
    • จากเรื่องราวของ Transgender Teen คนหนึ่ง สู่การเติมความรู้ระบาดวิทยาใน Pride Month
    • 3 คำถามกับนายก: Pride Month กับนักระบาดวิทยา เกี่ยวข้องกันอย่างไร
    • น้อง FETP ปี 2566  “ไม่ต้องตกใจ”
    • มานุษยวิทยากับการเกิดโรคระบาด
    • พี่ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์ FETP คนไทยหนึ่งเเดียวที่ได้เรียน EIS
    • หมอจอห์น สโนว์ ผู้ใช้ระบาดวิทยาสอบสวนโรคภาคสนาม เพื่อไขความจริงโรคอหิวาต์ระบาดในลอนดอน
    • รู้หรือไม่ คนไทยได้ทุนวิจัยจากจาก NIH สหรัฐอเมริกาเท่าไหร่
    • รูปเล่าเรื่อง - รมต. สธ. สหรัฐฯ และ ผอ. US CDC มอบใบประกาศนียบัตรแก่ อ.สุชาติ​
    • 7 วิธีโตอย่างมั่นคงในระบบราชการ
    • กว่าจะมาเป็นแพทย์ด้านระบาดวิทยา
Picture
นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ
​นายกสมาคม
Proudly powered by Weebly
  • Home
  • Hall of Fame
    • อ.สุชาติ เจตนเสน >
      • Transcript วิดีโอ อ.สุชาติ
    • อ.ประยูร กุนาศล
    • อ.ธวัช จายนียโยธิน
    • Honorary Awards
    • FETP in Media
    • Alumni's Hall Of Fame
  • กิจกรรมและปฏิทิน
    • Photo gallery
  • About FEAT
    • ฺคณะกรรมการสมาคม
    • Who We Are
    • Association Rules
    • Members
  • Member Application
  • Academic
    • E-book
    • PH Guideline
  • Web link
  • Contact Us
  • Blog